ลักษณะเซลล์สืบพันธุ์ แบ่งตามรูปร่าง
1. ไอโซแกมีต (Isogamete) เซลล์สืบพันธุ์จะมีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน เช่นมีลักษณะกลมเหมือนกัน เล็กเท่ากันไม่สามารถแยกว่าเป็นเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้หรือตัวเมียได้ พบในโปรติสต์บางชนิด (A)
1. ไอโซแกมีต (Isogamete) เซลล์สืบพันธุ์จะมีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน เช่นมีลักษณะกลมเหมือนกัน เล็กเท่ากันไม่สามารถแยกว่าเป็นเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้หรือตัวเมียได้ พบในโปรติสต์บางชนิด (A)
2. เฮตเทอโรแกมีต (Heterogamete) เซลล์สืบพันธุ์มีความแตกต่างกันแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ
- แอนไอโซแกมีต (Anisogamete) มีรูปร่างเหมือนกัน แต่ขนาดต่างกัน เช่น กลมเหมือนกัน แต่มีขนาดเล็กกับใหญ่ พบในโปรติสต์บางชนิด(B)
- โอโอแกมีต (Oogamete) ต่างกันทั้งขนาดและรูปร่างก็ต่างกัน (เซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กมีหัว มีหางเคลื่อนที่ได้ เรียกว่าสเปิร์ม ส่วนเซลล์ตัวเมียจะมีขนาดรูปร่างกลมขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ไม่ได้เรียกว่าไข่ พบในสัตว์ชั้นสูงและพืชชั้นต่ำบางชนิด (C)
- แอนไอโซแกมีต (Anisogamete) มีรูปร่างเหมือนกัน แต่ขนาดต่างกัน เช่น กลมเหมือนกัน แต่มีขนาดเล็กกับใหญ่ พบในโปรติสต์บางชนิด(B)
- โอโอแกมีต (Oogamete) ต่างกันทั้งขนาดและรูปร่างก็ต่างกัน (เซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กมีหัว มีหางเคลื่อนที่ได้ เรียกว่าสเปิร์ม ส่วนเซลล์ตัวเมียจะมีขนาดรูปร่างกลมขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ไม่ได้เรียกว่าไข่ พบในสัตว์ชั้นสูงและพืชชั้นต่ำบางชนิด (C)
รูปแสดง เซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างต่าง ๆ ที่มา http://web.nkc.kku.ac.th/images/lean/3-10.jpg
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศในโปรติสต์
- ซินแกมี (Sybngamy) โปรโตซัว 2 ตัว ก่อนการสืบพันธุ์ทำหน้าที่เป็นเซลล์ร่างกาย หากินธรรมดา พอถึงช่วงสืบพันธุ์ต่างก็มีเซลล์สืบพันธุ์มารวมกันแล้วไปแบ่งทีหลังก็กลับมาเป็นตัวเดิม
- Conjugation พารามีเซียม มี 2 ตัว มาจับคู่กัน แต่ละตัวนั้นมีนิวเคลียส 2 อัน นิวเคลียสอันใหญ่ เรียกว่า แมคโครนิวเคลียส อันเล็กเรียกว่า ไมโครนิวเคลียส แมคโครนิวเคลียส จะไม่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ แบบนี้ ไมโครนิวเคลียสจะเป็นตัวสำคัญเข้าคู่กัน ไมโครนิวเคลียสของแต่ละตัว จะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 นิวเคลียส และจะสลายไป 3 เหลือ 1 แต่ละตัวจะมีไมโครนิวเคลียสเหลือ 1 เดียว หลังจากแบ่งเซลล์ แบบไมโตซิส เป็น 2 นิวเคลียส ซึ่งเดิมมี (n) เดียว แบ่งแบบไมโตซิสก็ได้ (n) เดียวแต่ละตัวขณะนี้มี 2 ไมโครนิวเคลียส ไมโครนิวเคลียสแต่ละอันมี (n) เดียว ต่อมามีการแลก ไมโครนิวเคลียสกัน ไมโครนิวเคลียสตัวหนึ่งไปให้อีกตัวหนึ่งแลกกันในนิวเคลียสที่มียีนอยู่นั่นคือมีการแลกเปลี่ยนยีนกันแล้ว แล้วก็มารวมกันเป็น ไซโกต (2n) พารามีเซียม 2 ตัว แยกออกจากกัน แต่ยังไม่จบกระบวนการ แต่ละตัว จะแบ่งนิวเคลียสที่มี (2n) แบบไมโตซิส 3 ครั้ง เป็น 8 นิวเคลียส แล้ว 8 นิวเคลียสนี้ก็จะเป็น ไมโครนิวเคลียส 4 อัน และแมคโครนิวเคลียส 4 อัน จากนั้นจะแบ่งไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งพารามีเซียม 1 ตัว ที่แยกมาก็จะเป็น พารามีเซียม 4 ตัว แต่ละตัวจะมี 1 ไมโครนิวเคลียส 1 แมคโครนิวเคลียส และรวมทั้งหมดจะเป็น 8 ตัว ซึ่งตัวใหม่จะมีการแลกนิวเคลียสหรือยีนกันมาทำให้แข็งแรง ธรรมดาพารามีเซียมจะมีการสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ ด้วยโดยการแบ่งไปเรื่อย ๆ โดยยีนคงเดิม ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมก็จะตายทั้งหมด แต่การคอนจูชั่นมีการแลกเปลี่ยนยีนกันทำให้แปรผันไป มีความแข็งแรงและอ่อนแอต่างกัน ฉะนั้นจึงตายไม่หมด
การสืบพันธุ์แบบคอนจูเกชั่นในพารามีเซียม ที่มา http://biodidac.bio.uottawa.ca/ftp/BIODIDAC/PROTISTA/CILIOPHO/DIAGBW/PROT018B.GIF
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จะมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์แบ่งได้เป็น 2 พวก 1.โมนีเชียส (Monoecious) หรือเรียกอีกชื่อว่า เฮอมาโพรไดต์ คือ 1 ตัว มี 2 เพศ(กระเทย)
ตัวเดียวสามารถสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้ทั้ง 2 ชนิด มีทั้งอัณฑะและรังไข่ อัณฑะสร้างสเปิร์ม รังไข่สร้างไข่ มีการปฏิสนธิ 2 แบบ คือ
- การปฏิสนธิแบบข้ามตัว (Cross fertiltzation) ในสัตว์บางชนิดแม้จะมี 2 เพศ ในตัวเดียวกัน ก็ไม่สามารถผสมพันธุ์ในตัวเองได้เนื่องจาก สเปิร์ม กับไข่สุกไม่พร้อมกัน ต้องมีการปฏิสนธิแบบข้ามตัว เช่น ไส้เดือน
- การปฏิสนธิหรือผสมพันธุ์ในตัวเอง (Self fertilization) สัตว์บางพวกที่เป็นกระเทยและสามารถ ผสมพันธุ์ในตัวเอง พวกนี้สเปิร์มกับไข่จะสุกพร้อม ๆ กัน ได้แก่พวกหนอนตัวแบนทั้งหลาย เช่น พลานาเรีย พยาธิตัวตืด
2. ไดนีเชียส (Dioecious) คือตัวเดียวมีเพศเดียว เป็นตัวผู้กับตัวเมีย มีการปฏิสนธิแบบข้ามตัว เช่น พวกสัตว์ชั้นสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น