วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) 

            เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell) เป็นการสืบพันธุ์ที่สร้างหน่วยใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดิม อาจเกิดได้โดยการจำลองตัวเองของหน่วยพันธุกรรม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโตซีส หรือการแบ่งเซลล์แบบ mitotic cell division หน่วยใหม่ที่เกิดขึ้นมาจะมีลักษณะเหมือนตัวแม่ทุกประการ การสืบพันธุ์แบบนี้พบตั้งแต่สิ่งที่มีชีวิตที่ยังไม่เป็นเซลล์ พวกเซลล์เดียว และพวกหลายเซลล์ไปจนถึงพืชชั้นสูงเป็นการสืบพันธุ์ที่ง่ายที่สุด พบในสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่มีระบบสืบพันธุ์หรือมีแต่ยังไม่เจริญดี ทำได้โดยการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 ได้สิ่งมีชีวิตตัวใหม่ที่มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ แต่ถ้าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ก็จะทำให้ตายและสูญพันธุ์ในที่สุด 


 
     ขั้นตอนการสืบพันธุ์



  

       1. การแตกหน่อ (Budding)

   เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำ โดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่ หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกมาไปอยู่อิสระตามลำพัง สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่ ไฮดรา หนอนตัวแบน ฟองน้ำ ปะการัง และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ
ในพืชชั้นสูงก็มีพวก ขิง ข่า กล้วย หน่อไม้ เป็นต้น
   -โพรติสต์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ที่ไม่อาจจัดเป็นพืชหรือสัตว์ได้อย่างชัดเจน เช่น เห็ด รา ยีสต์ โปรโตซัว ไวรัส สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นต้น

   -ไฮดรา (Hydra) เป็นสัตว์ชั้นต่ำประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลำตัวคล้ายเส้นด้าย มีขนาดประมาณ 0.5 - 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 - 1 เซนติเมตร มีหนวดเป็นเส้นยาว 4 - 12 เส้นลำตัวสีขาวขุ่น แต่บางชนิดมีสีเขียว ซึ่งเกิดจากสาหร่ายสีเขียวที่อาศัยอยู่ในตัวไฮดรา จึงทำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ อาหารของไฮดรา คือ ไรน้ำและตัวอ่อนของแมลงในน้ำ ไฮดราสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ ดังนี้

      การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไฮดรา
      เมื่อไฮดราเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นไฮดราตัวเล็ก ๆ หลังจากนั้นก็จะหลุดออกไปอยู่ตามลำพังได้เอง การสืบพันธุ์แบบนี้ เรียกว่า การแตกหน่อ (Budding)

     การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดรา 
     ไฮดรามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่อาหารไม่สมบูรณ์ ไฮดราจะมี 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน โดยมีรังไข่อยู่ข้างลำตัว ลักษณะเป็นปุ่มใหญ่เหนือรังไข่บริเวณใกล้ ๆ หนวด (Tentacle) จะมีอัณฑะเป็นปุ่มเล็ก ๆ รังไข่จะผลิตเซลล์ไข่ และอัณฑะจะผลิตเซลล์อสุจิ โดยปกติไข่และตัวอสุจิจะเติบโตไม่พร้อมกัน จึงต้องผสมกับตัวอื่น ตัวอสุจิจากไฮดราตัวหนึ่งจะว่ายน้ำไปผสมกับไข่ที่สุกในรังไข่ของไฮดราตัวอื่นไข่ที่ผสมแล้วจะเป็นไซโกตซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งจึงจะหลุดออกไปจากตัวแม่ แล้วเจริญเป็นไฮดราตัวใหม่ต่อไป

     2. การแบ่ง ตัวออกเป็นสอง (Binary Fission) 
    เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย การสืบพันธุ์วิธีนี้เกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ โดยนิวเคลียสของเซลล์จะแบ่งตัวก่อน แล้วไซโทพลาซึมจะแบ่งตามได้เป็นตัวใหม่ 2 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเดิมทุกประการ
เช่น - การแบ่งตัวของอะมีบา

     3. พาร์ธีโนเจเนซิส (Parthenogenesis) 
     เป็นการสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศของแมลงบางชนิด เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน้ำซึ่งตัวเมียสามารถผลิตไข่ที่ฟักเป็นตัวได้โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิในสภาวะปกติไข่ของสัตว์ดังกล่าวจะฟักออกมาเป็นตัวเมียเสมอ แต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เช่น เกิดความแห้งแล้งหนาวเย็น หรือขาดแคลนอาหาร ตัวเมียก็จะผลิตไข่ที่ฟักออกเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย จากนั้นสัตว์ตัวผู้และตัวเมียเหล่านี้จะผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะออกไข่ที่มีความคงทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวได้ ในผึ้ง มด ต่อ แตน ก็พบว่ามีการสืบพันธุ์แบบพาร์ธีโนเจเนซิสด้วยเช่นกัน โดยไข่ไม่ต้องมีการปฏิสนธิก็สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ ซึ่งจะฟักออกมาเป็นตัวผู้เสมอ

       4 . การงอกใหม่ (Regeneration) 
   พบในสัตว์ชั้นต่ำ ได้แก่ ปลาดาว พลานาเรีย ไส้เดือนดิน ปลิง ซีแอนนีโมนี การงอกใหม่เป็นการสร้างส่วนของร่างกายที่ขาดหายไป โดยสัตว์เหล่านี้ถ้าร่างกายถูกตัดออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ ดังนั้นการงอกใหม่นี้จึงทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิม

       5. การสร้างสปอร์ (Spore Formation) 
     เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการแบ่งนิวเคลียสหลาย ๆ ครั้ง ต่อจากนั้นไซโทพลาซึมจะแบ่งตาม แล้วจะมีการสร้างเยื่อกั้นเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะมีนิวเคลียส 1 อัน เรียกว่า สปอร์ (Spore) สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ พลาสโมเดียม ซึ่งเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย

       6. การขาดออกเป็นท่อน (Fragmentation)
     เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศอีกแบบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะพวกที่มีเซลล์ต่อกันเป็นเส้นสายโดยการหักเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนที่หลุดไปก็จะแบ่งตัวแบบ Mitotic cell division ได้เซลล์ใหม่ที่ต่อกันเป็นเส้นสายเจริญต่อไป เช่น พวกหนอนตัวแบน สาหร่ายทะเล

    

     การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของปะการังแข็ง (Asexual reproduction)
    การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของปะการังมีหลายรูปแบบ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด ในแนวปะการังการสืบพันธุ์แบบนี้จะเป็นการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว การสืบพันธุ์ในรูปแบบนี้ จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิม ดังนั้นความสามารถในการปรับตัวเพื่อทนทานต่อสภาพแวดล้อม ที่รุนแรงจึงมีน้อย ลักษณะที่เป็น homogenous genotype ทำให้ประชากรแต่ละตัวจะมี fitness ต่ำ ดังนั้น ความสามารถในการอยู่รอดการปรับตัวจึงต่ำ นอกจากนั้นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลง อย่างไรก็ตามในแนวปะการังส่วนมากจะพบการสืบพันธุ์ ในรูปแบบนี้เป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น

      1.Flagmentation 
   โดยการแตกหักออกจากโคโลนีใหญ่ ปะการังจะสร้างเนื้อเยื่อใหม่อย่างรวดเร็ว ขึ้นมาแทนที่ ในบางพื้นที่ที่มีตะกอนมาก โอกาสในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ก็จะลดลงไปด้วย การแตกหักที่เกิดขึ้น มักจะเกิดขึ้นกับปะการังที่มีรูปร่างแบบกิ่งก้านมากกว่าแบบก้อน

      2.Budding 
เป็นการแบ่งตัวออกภายในโคโลนีแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ
Intratentacular budding เป็นการแยกตัวโพลิปใหม่ออกจากโพลิปเดิม โดยเกิดเป็น 2 หรือ 3 โพลิปใหม่ แต่ไม่มีผนังของตนเองอย่างสมบูรณ์
Extratentacular budding เป็นการแบ่งตัวที่เกิดขึ้นภายนอกโพลิปเดิมทำให้โพลิปใหม่ มีผนังของตัวเองชัดเจน

      3.Polyp bail-out
   ปะการังจะมีการปล่อยโพลิปออกมาในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะ หรือมีความเครียด เกิดขึ้น ซึ่งการสืบพันธุ์ในรูปแบบนี้จะมีน้อยชนิด
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อขยายออกไปจากตัวเดิม ทำให้ก้อนปะการัง มีขนาดใหญ่ขึ้นและลงเกาะทับถมกันเป็นเวลานานนับร้อย ๆ ปี เป็นแนวหินปูนใต้น้ำเรียกว่า " แนวปะการัง" การเจริญเติบโต ปะการังบางชนิดมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10 ซม. ต่อปี ส่วนปะการังก้อน มีการเจริญเติบโตเฉลี่ย 1-2 ซม. ต่อปี ปะการังจะเติบโตได้ดีในน้ำทะเลที่ใสสะอาด ความเค็มคงที่ มีแสงสว่างส่องถึงระดับอุณหภูมิที่ 18-32 องศาเซลเซียส หากระบบนิเวศน์เสื่อมโทรมแนวปะการัง จะถูกทำลายกว่าจะฟื้นตัวได้ต้องใช้เวลานานหลายสิบปี
 

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

ลักษณะเซลล์สืบพันธุ์  แบ่งตามรูปร่าง
1. ไอโซแกมีต (Isogamete) เซลล์สืบพันธุ์จะมีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน  เช่นมีลักษณะกลมเหมือนกัน  เล็กเท่ากันไม่สามารถแยกว่าเป็นเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้หรือตัวเมียได้  พบในโปรติสต์บางชนิด (A)
2. เฮตเทอโรแกมีต (Heterogamete)  เซลล์สืบพันธุ์มีความแตกต่างกันแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ
          - แอนไอโซแกมีต (Anisogamete) มีรูปร่างเหมือนกัน แต่ขนาดต่างกัน  เช่น กลมเหมือนกัน  แต่มีขนาดเล็กกับใหญ่  พบในโปรติสต์บางชนิด(B)
          - โอโอแกมีต (Oogamete)  ต่างกันทั้งขนาดและรูปร่างก็ต่างกัน (เซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กมีหัว มีหางเคลื่อนที่ได้  เรียกว่าสเปิร์ม  ส่วนเซลล์ตัวเมียจะมีขนาดรูปร่างกลมขนาดใหญ่  เคลื่อนที่ไม่ได้เรียกว่าไข่  พบในสัตว์ชั้นสูงและพืชชั้นต่ำบางชนิด (C)

รูปแสดง เซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างต่าง ๆ ที่มา http://web.nkc.kku.ac.th/images/lean/3-10.jpg
 
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศในโปรติสต์
          - ซินแกมี (Sybngamy)  โปรโตซัว  2  ตัว  ก่อนการสืบพันธุ์ทำหน้าที่เป็นเซลล์ร่างกาย หากินธรรมดา  พอถึงช่วงสืบพันธุ์ต่างก็มีเซลล์สืบพันธุ์มารวมกันแล้วไปแบ่งทีหลังก็กลับมาเป็นตัวเดิม
          - Conjugation  พารามีเซียม  มี 2 ตัว มาจับคู่กัน  แต่ละตัวนั้นมีนิวเคลียส  2  อัน  นิวเคลียสอันใหญ่ เรียกว่า แมคโครนิวเคลียส  อันเล็กเรียกว่า ไมโครนิวเคลียส  แมคโครนิวเคลียส จะไม่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ แบบนี้  ไมโครนิวเคลียสจะเป็นตัวสำคัญเข้าคู่กัน  ไมโครนิวเคลียสของแต่ละตัว จะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 นิวเคลียส  และจะสลายไป 3  เหลือ 1  แต่ละตัวจะมีไมโครนิวเคลียสเหลือ 1  เดียว  หลังจากแบ่งเซลล์ แบบไมโตซิส  เป็น 2 นิวเคลียส ซึ่งเดิมมี (n) เดียว  แบ่งแบบไมโตซิสก็ได้ (n) เดียวแต่ละตัวขณะนี้มี 2 ไมโครนิวเคลียส  ไมโครนิวเคลียสแต่ละอันมี (n) เดียว  ต่อมามีการแลก ไมโครนิวเคลียสกัน             ไมโครนิวเคลียสตัวหนึ่งไปให้อีกตัวหนึ่งแลกกันในนิวเคลียสที่มียีนอยู่นั่นคือมีการแลกเปลี่ยนยีนกันแล้ว  แล้วก็มารวมกันเป็น ไซโกต (2n) พารามีเซียม 2  ตัว  แยกออกจากกัน  แต่ยังไม่จบกระบวนการ แต่ละตัว จะแบ่งนิวเคลียสที่มี (2n)  แบบไมโตซิส 3 ครั้ง  เป็น 8 นิวเคลียส  แล้ว 8 นิวเคลียสนี้ก็จะเป็น ไมโครนิวเคลียส 4 อัน และแมคโครนิวเคลียส 4 อัน  จากนั้นจะแบ่งไปเรื่อย ๆ  จนกระทั่งพารามีเซียม 1 ตัว  ที่แยกมาก็จะเป็น พารามีเซียม  4  ตัว  แต่ละตัวจะมี 1  ไมโครนิวเคลียส  1 แมคโครนิวเคลียส  และรวมทั้งหมดจะเป็น 8 ตัว ซึ่งตัวใหม่จะมีการแลกนิวเคลียสหรือยีนกันมาทำให้แข็งแรง  ธรรมดาพารามีเซียมจะมีการสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ  ด้วยโดยการแบ่งไปเรื่อย ๆ  โดยยีนคงเดิม  ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมก็จะตายทั้งหมด  แต่การคอนจูชั่นมีการแลกเปลี่ยนยีนกันทำให้แปรผันไป มีความแข็งแรงและอ่อนแอต่างกัน  ฉะนั้นจึงตายไม่หมด

การสืบพันธุ์แบบคอนจูเกชั่นในพารามีเซียม ที่มา http://biodidac.bio.uottawa.ca/ftp/BIODIDAC/PROTISTA/CILIOPHO/DIAGBW/PROT018B.GIF
 
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  จะมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์แบ่งได้เป็น 2 พวก           1.โมนีเชียส (Monoecious) หรือเรียกอีกชื่อว่า เฮอมาโพรไดต์ คือ 1 ตัว มี 2 เพศ(กระเทย)
ตัวเดียวสามารถสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้ทั้ง 2 ชนิด มีทั้งอัณฑะและรังไข่  อัณฑะสร้างสเปิร์ม  รังไข่สร้างไข่  มีการปฏิสนธิ  2 แบบ คือ
               - การปฏิสนธิแบบข้ามตัว (Cross  fertiltzation)   ในสัตว์บางชนิดแม้จะมี 2 เพศ ในตัวเดียวกัน ก็ไม่สามารถผสมพันธุ์ในตัวเองได้เนื่องจาก สเปิร์ม กับไข่สุกไม่พร้อมกัน  ต้องมีการปฏิสนธิแบบข้ามตัว เช่น ไส้เดือน
               - การปฏิสนธิหรือผสมพันธุ์ในตัวเอง (Self  fertilization) สัตว์บางพวกที่เป็นกระเทยและสามารถ ผสมพันธุ์ในตัวเอง  พวกนี้สเปิร์มกับไข่จะสุกพร้อม ๆ กัน  ได้แก่พวกหนอนตัวแบนทั้งหลาย  เช่น พลานาเรีย  พยาธิตัวตืด
          2. ไดนีเชียส (Dioecious) คือตัวเดียวมีเพศเดียว  เป็นตัวผู้กับตัวเมีย  มีการปฏิสนธิแบบข้ามตัว  เช่น พวกสัตว์ชั้นสูง

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การโคลนนิ่ง (Cloning)

โคลนนิ่ง แกะ

     การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ การคัดลอก หรือการทำซ้ำ ให้มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ

     หากกล่าวเรื่อง การโคลนนิ่ง (Cloning) ในแง่ของสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวพันถึงเทคโนโลยีชีวภาพแล้ว
     การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ กระบวนการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศชนิดหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตที่ถูกโคลนออกมาจะมีลักษณะทางพันธุกรรม โดยรวมถึงมีลักษณะทางกายภาพ เหมือนกับสิ่งมีชีวิตต้นแบบ หรือ สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ก่อนแล้วทุกประการ
     โดยคำว่าโคลน (Clone) นั้นมาจากภาษากรีกจากคำว่า “Klone” ซึ่งแปลว่า แขนง กิ่ง ก้าน โดยใช้อธิบายการแบ่งตัวแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual) ของในพืชและสัตว์

     และโดยที่คำว่าโคลน จะถูกใช้เรียกสิ่งที่ถูกโคลนออกมาจากสิ่งมีชีวิตต้นแบบ

     ตัวอย่างของลักษณะสิ่งมีชีวิตที่ได้จากการโคลนนิ่ง (Cloning) เช่น มีเพศเหมือนกัน มีหมู่เลือดเหมือนกัน เป็นต้น

     หากกล่าวถึงเรื่อง การโคลนนิ่ง (Cloning) สัตว์ซึ่งปกติแล้วสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศแล้ว
     การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ การสร้างสัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาโดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศผู้หรืออสุจิของสัตว์เพศผู้ แต่ใช้นิวเคลียสจากเซลล์เต็มวัยของเซลล์ร่างกายของสัตว์เพศอะไรก็ได้ใส่ลงไปที่เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศเมียหรือเซลล์ไข่โดยนำสารพันธุกรรม หรือ DNA ที่มีอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียหรือเซลล์ไข่ออกก่อน แล้วนำเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียหรือเซลล์ไข่ใส่ไปในตัวเพศเมียเพื่อให้คลอดออกมา เมื่อคลอดออกมาทำให้ได้สัตว์ตัวใหม่ที่มี รูปร่าง หน้าตา ลักษณะภายนอก เหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นเจ้าของเซลล์เดิมเกือบทุกประการ และมีพันธุกรรมเหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นเจ้าของเซลล์เดิมทุกประการ ถ้าเจ้าของเซลล์เป็นเพศเมียก็จะได้สัตว์ให้เป็นเพศเมีย ถ้าเจ้าของสัตว์เป็นเพศผู้จะได้สัตว์ใหม่เป็นเพศผู้ เหมือนกับเจ้าของเซลล์เดิมทุกประการ


  








  หัวข้ออื่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ (Links ภายในเว็บ ThaiBiotech.info)





หัวข้ออื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ (Links ภายในเว็บ ThaiBiotech.info)

หัวข้อความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ (Topics of biotechnology) หัวข้อความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ (Topics of biotechnology)
หัวข้อหลัก เทคโนโลยีชีวภาพ คือ อะไร
  หัวข้อย่อย การใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีชีวภาพ
    หัวข้อย่อยระดับ 2 ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพในชีวิตประจำวัน
  หัวข้อย่อย เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านการแพทย์และสุขภาพ
    หัวข้อย่อยระดับ 2 เด็กหลอดแก้ว (IVF) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 เทคโนโลยีชีวภาพกับการรักษาโรคเบาหวาน
    หัวข้อย่อยระดับ 2 เทคโนโลยีชีวภาพกับสมุนไพรหรือสมุนไพรไทย
      หัวข้อย่อยระดับ 3 สมุนไพร และ สมุนไพรไทย คือ อะไร
        หัวข้อย่อยระดับ 4 ว่านหางจระเข้ หรือ อโลเวร่า คือ อะไร
  หัวข้อย่อย ประวัติของ เทคโนโลยีชีวภาพ
  หัวข้อย่อย ประเภทของเทคโนโลยีชีวภาพมีกี่ประเภท
  หัวข้อย่อย หนังดังกับ เทคโนโลยีชีวภาพ
หัวข้อหลัก พันธุวิศวกรรม คือ อะไร
  หัวข้อย่อย การใช้ประโยชน์จาก พันธุวิศวกรรม
  หัวข้อย่อย พันธุวิศวกรรมกับเทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวข้องกันอย่างไร
  หัวข้อย่อย พันธุวิศวกรรมกับการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
หัวข้อหลัก จีเอ็มโอ(GMOs) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย พืช GMOs คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 ตัวอย่างของ พืช GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม
    หัวข้อย่อยระดับ 2 เทคนิคที่ใช้ในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช
    หัวข้อย่อยระดับ 2 ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช
  หัวข้อย่อย ข้อดี หรือ ประโยชน์ ของ GMOs
  หัวข้อย่อย ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของ GMOs
  หัวข้อย่อย ข้อแตกต่างระหว่าง GMOs กับ GMO
  หัวข้อย่อย จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม (GMM) คือ อะไร
หัวข้อหลัก ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน (มีคำตอบ)
หัวข้อหลัก จีโนม (Genome) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย จีโนมิกส์ (Genomics) คือ อะไร
หัวข้อหลัก การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย ประโยชน์ หรือ ข้อดี ของการโคลนนิ่ง
  หัวข้อย่อย ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของการโคลนนิ่ง
  หัวข้อย่อย ประวัติการโคลนนิ่ง
  หัวข้อย่อย การโคลนนิ่งมนุษย์
    หัวข้อย่อยระดับ 2 การโคลนนิ่งมนุษย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
  หัวข้อย่อย การโคลนนิ่งสัตว์
  หัวข้อย่อย การโคลนนิ่งพืช
หัวข้อหลัก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คืออะไร
  หัวข้อย่อย การใช้ประโยชน์จาก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
หัวข้อหลัก พลังงานทดแทน คือ อะไร
  หัวข้อย่อย พลังงานชีวมวล (Biomass Energy) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 ชีวมวล (Biomass) คือ อะไร
หัวข้อหลัก พันธุกรรม คือ อะไร
  หัวข้อย่อย ลักษณะทางพันธุกรรม คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 ลักษณะเด่น(Dominant Trait) คือ อะไร
      หัวข้อย่อยระดับ 3 ลักษณะเด่นแบบสมบูรณ์ คือ อะไร
      หัวข้อย่อยระดับ 3 ลักษณะเด่นแบบไม่สมบูรณ์ คือ อะไร
      หัวข้อย่อยระดับ 3 ลักษณะเด่นร่วมกัน คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 ลักษณะด้อย(Recessive Trait) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 เทสครอส (Test Cross) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 การผสมกลับ (Back Cross) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย โรคทางพันธุกรรม(Genetic Disorder) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 โรคเบาหวาน คือ อะไร
      หัวข้อย่อยระดับ 3 อินซูลิน(Insulin) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 โรคทริปเปิ้ล X หรือ ทริปเปิ้ลเอ็กซ์ซินโดรม หรือ กลุ่มอาการทริปเปิ้ลเอ็กซ์ (Triple X Syndrome) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 เอ็ดเวิร์ดซินโดรม หรือ กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward’s Syndrome) คือ อะไร
หัวข้อหลัก การกลายพันธุ์ หรือ การผ่าเหล่า หรือ มิวเทชั่น (Mutation) คือ อะไร
หัวข้อหลัก เนื้องอก(Tumor) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย โรคมะเร็ง(Cancer) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 มะเร็งปากมดลูก คือ อะไร
      หัวข้อย่อยระดับ 3 ปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปากมดลูก
หัวข้อหลัก ชีววิทยา(Biology) คือ อะไร
หัวข้อหลัก เคมี (Chemistry) คือ อะไร
หัวข้อหลัก พันธุศาสตร์ (Genetics) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย เมนเดล(Mendel) คือ ใคร (ชีวประวัติของเกรเกอร์ เมนเดล)
หัวข้อหลัก นิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) คือ อะไร
หัวข้อหลัก อณูชีววิทยา (Molecular Biology) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย PCR (พีซีอาร์) คือ อะไร
หัวข้อหลัก เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT) คือ อะไร
หัวข้อหลัก ชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics) คือ อะไร
หัวข้อหลัก จุลินทรีย์ (Microorganism) คือ อะไร
หัวข้อหลัก เซลล์ (Cell) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย สเต็มเซลล์ (Stem Cell) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย เซลล์พืช คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย เซลล์สัตว์ คือ อะไร
  หัวข้อย่อย ออร์แกเนลล์ (Organelle) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 นิวเคลียส (Nucleus) คือ อะไร
      หัวข้อย่อยระดับ 3 นิวคลีโอลัส (Nucleolus) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 เอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลัม(ER) คือ อะไร
      หัวข้อย่อยระดับ 3 เอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลัมแบบผิวเรียบ (SER) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 ไมโทคอนเดรีย(Mitochondria) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 ไรโบโซม (Ribosome) คือ อะไร
หัวข้อหลัก เอนไซม์(Enzyme) คือ อะไร
หัวข้อหลัก โครโมโซม (Chromosome) คืออะไร
  หัวข้อย่อย โครงสร้างของโครโมโซม
  หัวข้อย่อย ออโตโซม (Autosome) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย โครโมโซมเพศ (Sex Chromosome) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย โครมาทิน (Chromatin) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย โครมาทิด (Chromatid) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย ความแตกต่างระหว่าง โครมาทิน (Chromatin) กับ โครมาทิด (Chromatid)
  หัวข้อย่อย โฮโมโลกัสโครโมโซม(Homologous Chromosome) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย เซนโทรเมียร์(Centromere) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย นิวคลีโอโซม (Nucleosome) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย โปรตีนฮิสโตน (Histone Protein) คือ อะไร
หัวข้อหลัก ดีเอ็นเอ(DNA) คืออะไร
  หัวข้อย่อย ความแตกต่างระหว่าง ยีน(Gene) ดีเอ็นเอ(DNA) และ โครโมโซม(Chromosome)
  หัวข้อย่อย โครงสร้างของดีเอ็นเอ
  หัวข้อย่อย องค์ประกอบทางเคมีของดีเอ็นเอ
    หัวข้อย่อยระดับ 2 นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย หน้าที่ของดีเอ็นเอ
  หัวข้อย่อย ความแตกต่างระหว่างดีเอ็นเอ(DNA)และอาร์เอ็นเอ(RNA)
  หัวข้อย่อย การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA Replication) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 ขั้นตอนการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ(DNA Replication)
    หัวข้อย่อยระดับ 2 รูปแบบการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ
หัวข้อหลัก ยีน (Gene) คืออะไร
  หัวข้อย่อย ยีนเด่น (Dominant Gene) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย ยีนด้อย (Recessive Gene) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย โฮโมไซกัส ยีน(Homozygous Gene) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย เฮเทอโรไซกัส ยีน(Heterozygous Gene) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย มัลติเปิลยีนส์ (Multiple Genes) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย แอลลีล หรือ อัลลีล (Allele) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 แอลลีลเด่น(Dominant Allele) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 แอลลีลด้อย(Recessive Allele) คือ อะไร
    หัวข้อย่อยระดับ 2 มัลติเปิลแอลลีลส์ (Multiple Alleles) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย จีโนไทป์ (Genotype) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย ฟีโนไทป์ (Phenotype) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย การถอดรหัส (Transcription) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย การแปลรหัส (Translation) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย อินตรอน (Intron) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย เอ็กซอน (Exon) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย ยีนโครงสร้าง คือ อะไร
  หัวข้อย่อย ยีนควบคุม คือ อะไร
  หัวข้อย่อย โลคัส (Locus) คือ อะไร
หัวข้อหลัก อาร์เอ็นเอ (RNA) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) หรือ เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ (messenger RNA) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย ทีอาร์เอ็นเอ (tRNA) หรือ ทรานสเฟอร์ อาร์เอ็นเอ (transfer RNA) คือ อะไร
  หัวข้อย่อย อาร์อาร์เอ็นเอ (rRNA) หรือ ไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ (ribosomal RNA) คือ อะไร
ที่มา http://www.thaibiotech.info/what-is-cloning.php